ในที่สุดการแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “อุบัติเหตุเป็นศูนย์-ZERO Accident” ซึ่งต้องถือว่าเป้าหมายเรื่องนี้คือสิ่งที่ดีที่สุดและถูกต้องที่สุด แต่หลายองค์กรตั้งเป้านี้แล้วก็ยังไม่สามารถบรรลุผลก็เพราะท่านยังขาดเครื่องมือที่จะช่วยจัดการปัญหา และเรียกได้ว่า “ปัญหาเส้นผมบังภูเขาจริงๆ” หลังจากที่ผมตัดสินใจรับตำแหน่งใหม่จากเดิมเป็นผู้บริหารฝ่ายวิศวกรรมของบริษัทในเครือเนสท์เล่ (ประเทศไทย) มาเป็นผู้บริหารฝ่ายความปลอดภัยฯ พร้อมกับตำแหน่งที่เรียกว่า จป.วิชาชีพหรือ Professional Safety Officer ก็ต้องคิดตลอดเวลาว่าจะทำอย่างไรให้อุบัติเหตุลดลง ด้วยความมุ่งมั่นของผมจึงตัดสินใจเข้าอบรมแนวคิดเรื่อง Behavior Based Safety กับศาสตราจารย์โดมินิค คูปเปอร์ แห่งมหาวิทยาลัยอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2545 หลังจากนั้นนาแนวคิดเรื่อง BBS มาลองดาเนินการร่วมกับทีมงาน SHE เนสท์เล่(ไทย) ช่วงแรกก็ยอมรับว่าตั้งไข่ล้มต้มไข่กิน ลองผิดลองถูกอยู่พักหนึ่ง แต่สุดท้ายก็สาเร็จ ความสาเร็จในครั้งนั้นมิใช่ความสาเร็จของผมคนเดียวแต่เป็นความสาเร็จอันเกิดจากทีมงานได้แก่ ผู้อำนวยการโรงงาน ที่ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง คณะผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงานชาวเนสท์เล่ทุกคน ที่เห็นความปลอดภัยเป็นสิ่งที่มีคุณค่า โดยผมใช้ระบบ “BBS กลยุทธ์กำจัดพฤติกรรมเสี่ยง สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย”
ทำให้อุบัติเหตุลดลงต่อเนื่อง จนในที่สุดก็สามารถนำบริษัทไปขว้ารางวัล Zero Accident Award” และรางวัลสถานประกอบการดีเด่นระดับประเทศด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯ
จำนวนการเข้าชม: 60