จันทร์ - เสาร์ เวลา 08.00 - 17.00 น.
บริการของเรา

การวิเคราะห์อันตรายในกระบวนการผลิต Element 3:PHA (Process Hazard Analysis)

การวิเคราะห์อันตรายในกระบวนการผลิต Element 3:PHA (Process Hazard Analysis)

ซึ่งองค์ประกอบนี้ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของแผนงานฯ โดยการวิเคราะห์อันตรายในกระบวนการ ก็คือ วิธีการที่มีความละเอียด เป็นระเบียบ และเป็นระบบในการชี้บ่ง (Identifies) ประเมิน (Evaluates) อันตรายที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น อันสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกระบวนการหรือการจัดการ (Handling) กับสารเคมีอันตราย และเสนอมาตรการ (Recommends Measures) เพื่อขจัด ระงับ ป้องกัน หรือควบคุมอันตรายนั้น ๆ ซึ่งการวิเคราะห์อันตรายในกระบวนการ จะให้ข้อมูลที่ช่วยตัดสินใจในการออกแบบพัฒนาระบบความปลอดภัย และลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ อันมีสาเหตุมาจากการรั่วไหลของสารเคมีอันตราย

การวิเคราะห์อันตรายฯ จะพุ่งตรงจากการวิเคราะห์ไปยังสาเหตุและผลลัพธ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นของไฟไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารพิษหรือสารไวไฟ และการหกรั่วไหลของสารเคมีอันตราย โดย จะมุ่งความสนใจไปที่อุปกรณ์ เครื่องมือ อาคาร ภาชนะบรรจุ วิธีการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งที่เป็นงานประจำและไม่ใช่งานประจำ รวมถึงปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อกระบวนการ ซึ่งการพิจารณาประเด็นเหล่านี้ จะช่วยในการระบุถึงอันตรายและจุดบกพร่องที่เป็นไปได้หรือรูปแบบ (Modes) ที่ล้มเหลวของกระบวนการ

ในการเลือกใช้ระเบียบวิธี (Methodology) หรือเทคนิคของการวิเคราะห์อันตรายฯ จะได้รับอิทธิพลจากหลาย ๆ ปัจจัย ซึ่งรวมถึงระดับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการที่มีอยู่ และลักษณะเฉพาะของตัวกระบวนการเอง เช่น เป็นกระบวนการที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลานาน โดยไม่มีวิวัฒนาการหรือมีน้อยมาก หรือเป็นกระบวนการใหม่ หรือเป็นกระบวนที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งต้องมีการรวมเอาคุณลักษณะของวิวัฒนาการของกระบวนการไว้ นอกจากนี้ขนาดและความซับซ้อนของกระบวนการ ก็ยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้ระเบียบวิธีของการวิเคราะห์อันตรายฯ ด้วยเช่นกัน

วัตถุประสงค์
  • เพื่อป้องกันควบคุม และ/หรือ ลดความสูญเสียจากอุบัติภัยร้ายแรง มีทั้งการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
  • เพื่อใช้มาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะของอันตรายที่มีอยู่ในกระบวนการผลิต ใช้สารเคมีอันตรายสูง จำปนต้องใช้เทคนิคเฉพาะและทีมที่มีความชำนาญ การทำ PSM จึงใช้เทคนิค อาทิ Checkist, What-If, HAZOP, FMEA และ FTA

Share on Facebook Share on Twitter Share on Line

จำนวนการเข้าชม: 98